ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica Less
วงศ์ COMPOSITAE หนวดงิ้ว หนาดงั่ว หนาดวัว (อุดรธานี), คลู (ภาคใต้), หล่วงไซ (แต้จิ๋ว), หลวนซี (จีนกลาง), ขี้ป่าน (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ Indain Marsh Fleabane
ลักษณะพืช ขลู่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก ยอดและใบอ่อนมี ขนอ่อนอยู่โดยทั่วไป
ใบ กลมมน ปลายใบหยัก ดอก ออกเป็นช่อ ยังประกอบด้วยดอกเล็กๆ สีขาวอมม่วง
การขยายพันธุ์ โดยใช้กิ่งแก่ปักชำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใช้ใบสดและแห้ง ต้น เปลือก ราก
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ ในใบพบ 3-(2,3-diacetoxy-Z-methy-butyry!) cuauhtemone เสเลี้อ
ส่วนต้นมี Chlorogenic acid sesquiterpene, โซเดียม คลอไรด์ (Sodium chloride), โพแทสเซียม, เกลือแร่
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
ㆍ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการไม่ปกติ : ใช้ใบสดที่สมบูรณ์ เต็มที่หั่นเป็นชิ้น ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ถ้วยชา
ㆍแก้ผื่นคัน : ใช้ต้มทั้งต้นผสมน้ำอาบ
เป็นยาช่วยย่อย : ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมแป้งข้าวเจ้าและ น้ำตาล นึ่งกิน
ㆍ แก้ริดสีดวงทวาร : ใช้เปลือกต้น(ขูดเอาขนออก) แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ นำมาตากแห้งทำเป็นยาสูบ ส่วนที่ ๒ ต้มกิน ส่วนที่ ๓ ต้มน้ำเอาไอรมทวารหนัก
ㆍ แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
ข้อควรรู้ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจทำให้เกิดตะคริวได้สล็อต ออนไลน์
ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galanga (L.) stuntz
วงศ์ ZINGIBERACEAE ชื่ออื่น ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าตาแดง ข่าลิง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ Galanga
ลักษณะพืช ข่าเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นที่อยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า เนื้อในมีสี เหลืองกลิ่นหอมเฉพาะ ลำต้นอยู่เหนือดิน ๒ เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวอ่อน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอก ออกเป็นช่อสีนวลขาว ผล มีลักษณะกลมโตขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อแก่จะมีสีดำและ เม็ดเล็กๆ อยู่ภายใน
การขยายพันธุ์ ต้น ใบ ดอก และเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่ เหง้าแก่สด
สารเคมีและสาระสำคัญ
เหง้าข่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ใน น้ำมันนี้ยังประกอบด้วยสารชนิด cinnamate, cineol, eugeno camphor, pinenes เป็นต้น น้ำมันนี้มีฤทธิ์ต้าน เชื้อราต่าง ๆ มีฤทธิ์ขับลมต้านเชื้อแบคทีเรีย สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
ㆍแก้บวม ฟกช้ำ : เอาน้ำคั้นจากเหง้าแก่ ทาบริเวณที่เป็น
ㆍ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด : ใช้เหง้าแก่ของข่า สดหรือแห้งขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำดื่ม หากใช้เหง้าแก่ สดจะใช้ขนาดหนัก ๕ กรัม ถ้าแห้ง ๒ กรัม ทุบให้แตก ต้ม เอาน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร จนกว่าอาการท้องอืด เฟ้อจะหาย
ㆍ แก้กลากเกลื้อน : เอาหัวข่าแก่ล้างให้สะอาด ผ่านออกเป็น แว่นบางๆ ตำหรือทุบให้แตก เอาไปแช่เหล้าโรงทิ้งไว้ ๑ คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็น เอายามาทาบริเวณที่เป็น จน กว่าจะทาย โดยก่อนทาให้ใช้ไม้ไผ่บางๆ ที่ฆ่าเชื้อแล้ว ขูด บริเวณที่เป็นให้ผิวหนังแดงๆ ทาบ่อยๆ วันละ ๓ - ๔ ครั้ง จนกว่าจะหาย .
ㆍ ฆ่าแมลงวันทอง : เอาน้ำคั้นจากเหง้าแก่ (นำเหง้าแก่มาบดเป็น ผงแล้วคั้นเอาแต่น้ำ) ผสมน้ำนำไปฉีดพ่น
ข้าวกล้อง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryzasativa Linn.
วงศ์ GRAMINAE
ชื่อสามัญ
ลักษณะพืช ข้าวกล้องเป็นพืชล้มลุก อยู่รวมกันเป็นกอ ลำต้นมีข้อชัดเจน
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีเขียว รูปร่างแบน ยาวเรียว ปลายแหลม
ดอก ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อใหญ่และยาว ขนาดและลักษณะ รายละเอียดจะแตกต่างกัน ตามสายพันธุ์ของข้าว ข้าวกล้องมีสีเหลืองน้ำตาล เป็นข้าวที่ผ่านการกะเทาะ เอาเปลือกส่วนที่เรียกว่าแกลบออกไปเท่านั้น ส่วนจมูก ข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว หรือรำยังคงอยู่ ซึ่งส่วนนี้ทำ ให้ข้าวกล้องมีประโยชน์สูงกว่าข้าวขาวมาก
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ โปรตีน วิตามินบีรวม ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก
ทองแดง เส้นใยและสารไนอะซิน
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
ㆍ ลดน้ำหนัก แก้อาการท้องผูก : หุงข้าวกล้อง รับประทานเหมือน
ข้าวขาว
ข้อควรรู้
ㆍ การหุงข้าวกล้องควรเก็บกากและสิ่งสกปรกออกก่อน
ㆍควรใส่น้ำมากกว่าข้าวขาวเล็กน้อย เพื่อข้าวจะได้ไม่แข็งจน
เกินไป
ㆍ ชาวด้วยน้ำน้อย ๆ ซาวเบาๆ และเร็ว ๆ เพราะวิตามินบีละลาย น้ำได้