ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร

 สมุนไพรคืออะไร

 

สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb) กำเนิดจากธรรมชาติและมี ความหมายต่อชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะในมิติทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการ ส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ให้นิยามคำว่า "ยาสมุนไพร" หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือ แร่ ซึ่งมิได้ผสมปรุง หรือแปรสภาพ ที่ว่ามิได้ผสมปรุง หมายถึงเป็น ตัวยาเดี่ยวๆ มิได้มีการนำมาผสมกับตัวยาอื่น ๆ และมิได้มีการปรุงแต่งสี กลิ่น รสให้ผิดไปจากเดิม ส่วนที่ว่ามิได้แปรสภาพหมายถึงยังคงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ได้มา จากธรรมชาติ คือ ยังเห็นเป็นชิ้นส่วนของพืช สัตว์ หรือ แร่ธาตุ แม้ในทางการ ค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ เช่น ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กลง บดให้ เป็นผง อัดให้เป็นแท่ง หรือปอกเปลือกออก เป็นต้น ยาสมุนไพรส่วนใหญ่ที่ใช้กันมาจากพืช แม้ที่จริงยังมีส่วนของที่เป็น สัตว์ เช่น หนัง กระดูก ดี หรือสมุนไพรที่เป็นสัตว์ทั้งตัว อย่าง ตุ๊กแก ไส้เดือน ม้าน้ำ เป็นต้น ส่วนหนึ่งที่ไม่มีการพูดถึง อาจเนื่องมาจากสมุนไพรที่เป็นสัตว์ หรือแร่มีการใช้น้อย จะใช้เฉพาะในโรคบางชนิดเท่านั้น สมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐานส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร สล็อต ออนไลน์ ซึ่งมี องค์ประกอบสำคัญ ๕ ส่วนคือ ราก ลำต้น ใบ ดอกและผล ส่วนของพืชเหล่านี้ มีรูปร่าง ลักษณะโครงสร้างและบทบาทต่อพืซที่แตกต่างกัน การนำสมุนไพรมา ใช้เป็นยาต้องคำนึงถึงธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด รวมทั้งพันธุ์ของ สมุนไพร สภาวะแวดล้อมในการปลูก ฤดูกาลและช่วงเวลาที่เก็บสมุนไพร ซึ่ง ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดคุณภาพของสมุนไพร และจะกล่าวถึงในบท ต่อไป

 

สารเคมีในสมุนไพรแต่ละชนิด

 ในสมุนไพรแต่ละชนิด ประกอบด้วยสารเคมีทางวิทยาศาสตร์หลายชนิด โดยอาจแบ่งกลุ่มใหญ่ได้ ๗ กลุ่ม

 

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates)

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจนและ ออกชิเจน คาร์โบไฮเดรตเป็นกลุ่มสารที่พบมากทั้งในพืชและสัตว์ สารที่เป็น คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล กัม (Kum) วุ้น (Agar) น้ำผึ้ง  เปดติน (Pectin) เป็นต้น

 

ไขมัน (Lipids)

ไขมันเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (Organin Solvent) และเมื่อทำปฏิกิริยากับด่างจะกลายเป็นสบู่ น้ำมันในพืชหลายชนิด เป็นยาสมุนไพร เช่น น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น

 

น้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil หรือ Essential Oil)

 

น้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่พบมากในพืชเขตร้อน มีลักษณะเป็นน้ำมันและรสเฉพะตัว ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิธรรมดา เบากว่าน้ำ ส่วนมากมาจากส่วนของพืชได้โดยวิธีการกลั่นด้วยไอนำ(stream disti หรือการบีบ (expression) ประโยชน์คือเป็นตัวแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมเครื่อง ในส่วนของสมุนไพรมีประโยชน์ด้านขับลม ฆ่าเชื้อโรค พืชสมุน น้ำมันหอมระเหยเช่น กระเทียม ชิง ไพล มะกรูด ตะไคร้ กานพลู อบเชย เป็นต้น

 

เรซินและบาลซัม (Resins and Balsums)

 

เรซินเป็นสารอินทรีย์หรือสารผสมประเกทโพลีเมอร์ มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเปราะ แตกง่าย บางชนิดจะนิ่มไม่ละลายน้ำ แต่ละลาย ทำลายอินทรีย์ เมื่อเผาไฟจะหลอมเหลว จะได้สารที่ใส ข้นและเหนียว เช่น ชันสน เป็นต้น บาลซัมเป็นสาร resinous mixture ซึ่งประกอบด้วย กรดชินนามิก CIN-NAMIC ACID) หรือเอสเตอร์ของกรดสองชนิดนี้ เช่น กำยาน เป็นต้น

 

แอลคาลอยด์ (Alkaloids)

 

แอลคาลอยด์เป็นสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (Organic Nitrogen Compound) มักพบในพืชชั้นสูง มีสูตรโครงสร้างซับซ้อนและ แตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันพบแอลคาลอยด์มากกว่า ๕,๐๐๐ ชนิด คุณสมบัติ ของแอลคาลอยด์คือ ส่วนใหญ่มีรสขม ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในสารละลาย อินทรีย์ (Organic Solvent) มีฤทธิ์เป็นด่าง แอลคาลอยด์มีประโยชน์ในการ รักษาโรคอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นยาระงับปวด ยาชาเฉพาะที่ ยาแก้ไอ ยา แก้หอบหืด ยารักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ยาลดความดัน ยาควบคุมการ เต้นของหัวใจ เป็นต้น พืชสมุนไพรที่มีแอลคาลอยด์เป็นส่วนมากคือ หมากลำโพง ชิงโคนา ดองดึง ระย่อม ยาสูบ กลอย ฝิ่น แสลงใจ เป็นต้น

 

กลัยโคไซด์ (Glycosides)

 

กลัยโคไชด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจาก agycone (หรือ genin) จับกับส่วนที่เป็นน้ำตาล (glycone part) ละลายน้ำได้ดี โครงสร้างของ agycone มีความแตกต่างกันหลายแบบ ทำให้ประเภทและสรรพคุณทางเภสัชวิทยาของก ลัยโคไซค์มีหลายชนิด ใช้เป็นยาที่มีประโยชน์และสารพิษที่มีโทษต่อร่างกาย ก็ได้ กลัยโคไชด์จำแนกตามสูตร์โครงสร้างของ agycone ได้หลายประเภท คือ คาร์ดิเอ็ก กลัยโคไซด์ (Cardiac (ilycisides) มีฤทธิ์ต่อระบบกล้ามเนื้อ หัวใจ และระบบการไหลเวียนของโลหิต เช่น ใบยี่โถ เป็นต้น แอนทราควิโนน กลัยโคไซด์ (Antrawquinone Clycosides) มี ฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาฆ่าเชื้อ และสีย้อมผ้า เช่น ใบมะขามแขก ใบขี้เหล็ก ใบ ชุมเห็ดเทศ ใบว่านหางจระเข้ ซาโปนิน กลัยโคไซด์ (Saponin Clycosides) เป็นกลุ่มสารที่มี คุณสมบัติเกิดฟองเมื่อเขย่ากับน้ำ เช่น ลูกประคำดีควาย เป็นต้น ไซยาโนเจนนีติก กลัยโคไซด์ (Cyanogenatic Glycosides) มีส่วน ของ Agycone เช่น Cyanogenetic Nitrate สารกลุ่มนี้เมื่อถูกย่อยจะได้สาร จำพวกไซยาไนด เช่น รากมันสำปะหลัง ผักสะตอ ผักหนาม ผักเสี้ยนผี กระเบาน้ำ เป็นต้น . ไอโซไทโอไซยาเนท กลัยโคไซด์ (Isothiocyanate Glycosides) มี ส่วนของ agkycone เป็นสารจำพวก Isothiocyanate ฟลาโวนอล กลัยโคไซด์ (Flavonol Glycosides) เป็นสารสีที่ พบในหลายส่วนของพืช ส่วนใหญ่สีออกไปทางสีแดง เหลือง ม่วง น้ำเงิน เช่น ดอกอัญชัน เป็นต้น จ กรั้งบริ . แอลกอฮอลิค กลัยโคไซด์ (Alcoholic Glycosides) มี alycone เป็นแอลกอฮอล์ ยังมีกลัยโคไซด์อีกหลายชนิด เช่น ฟินอลิค กลัยโคไซด์ (Phenolic Glycosides) แอลดีไฮด์ กลัยโคไซด์ (Aldehyde Glycosides) เป็นต้น

 

 แทนนิน (Tannins)

 

เป็นสารที่พบได้ในพืชหลายชนิด มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด เทนนินใช้เป็นยาฝาดสมาน ยาแก้ท้องเสีย ช่วย รักษาแผลไพไหม้และใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง กรณีที่รับประทาน แทนนินเป็นประจำอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ สมุนไพรที่มีแทนนิน คือ เปลือก ทับทิม เปลือกอบเชย ใบฝรั่ง ใบและเปลือกสีเสียด ใบชา เป็นต้น นอกจากสาร ดังกล่าว ในพืชสมุนไพรยังมีสารประกอบอีกหลายชนิด เช่น ไขมันสเตียรอยด์ (steroid) เป็นต้น สารเหล่านี้บางชนิดมีสรรพคุณทางยาเช่นกัน

เข้าสู่ระบบ  
รับเครดิตฟรี
สมัครสมาชิก