สถานการณ์การอนุรักษ์ป่าไม้ไทยโดยรวม ณ ปัจจุบัน ความจริงที่เราต้องยอมรับคือ ป่าไม้ในเมืองไทยของเราคือหนึ่ง ในป่าเขตร้อนบนโลกใบนี้ที่ระบบนิเวศน์ถูกคุกคามมากที่สุด พื้นที่ป่าของ เราลดลงอย่างรวดเร็วจาก 53.3% เหลือเพียง 24% ในช่วงเวลา 44 ปี และถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้ยกเลิกการให้สัมปทานการทำไม้ทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2532 หลังเกิดเหตุการณ์อุทกภัยและภูเขาถล่มอันน่าสลดใจที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการช่วยชะลอการลดลงของ ป่าไม้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น วิอีกอบกู้ผืนป่าของเราซึ่งเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบันคือ นอกจากจะต้องพยายามปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่ม พื้นที่ป่าให้มากขึ้นแล้ว ยังต้องเร่งจัดหาข้อมูลเบื้องตันของพรรณพืชพื้นเมืองให้เสร็จสมบูรณ์ที่สุดอีกด้วย เพราะจะ ทำให้เราได้รับรู้ถึงลักษณะของพืชและเขตการกระจายพันธุ์ในสภาพป่าต่างๆ สล็อต ออนไลน์ รวมไปถึงจำนวนประชากรและสถานะ ของพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชหายากหรือพืชถิ่นเดียว อันจะแปรมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรพืชของ ประเทศไทยด้วยความเข้าใจและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลดีจากความเข้าใจที่ได้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ เราไม่เนั้น ไปที่การปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวซึ่งไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้พื้นเมือง เช่น ไม้สัก ไม้สน หรือพรรณไม้ต่างประเทศ เช่น ยูคาลิปคัส ที่แม้จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้จริง แต่หาได้มอบประโยชน์ในเชิงการนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพได้มากเท่าที่จำเป็นไม่ เนื่องจากป่าไม้ลักษณะนี้มีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ต่ำ ทำให้สัตว์ที่จะ เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่มีได้เพียงไม่กี่ชนิด หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งให้ข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการเพิ่มพื้นที่ป่า อย่างมีคุณภาพ ที่ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุม แต่จะต้องฟื้นฟูระบนนิเวศน์ทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน และที่สำคัญคือ ให้ข้อสังเกตในการคัดเลือกพรรณไม้ที่ปลูก ให้มีความหลากหลายและสอคกล้องกันกับ ดินฟ้าอากาศในท้องถิ่นนั้นด้วย
แนวความคิดของการปลูกป่าด้วยความเข้าใจใน ลักษณะของพรรณไม้ท้องถิ่นนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ ผลดีจากตัวอย่างในโครงการฟื้นฟูพื้นที่ป่าบ้านแม่สาใหม่ ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ ร่วมมือกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพลิกฟื้นป่าตันน้ำเหนือป่ในหมู่บ้านจากพื้นที่ไร่เก่าที่เกย ทำการเกษตรให้กลับมาเป็นป่าสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียง 5-6 ปี ด้วยการปลูก "พรรณไม้โครงสร้าง" ซึ่งก็คือพรรณไม้ ท้องถิ่นของภาคเหนือ เพียง 20-30 ชนิด ที่ได้รับการคัดเลือก แล้วว่าเป็นพรรณไม้ประจำท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิด คุณลักษณะพิเศษที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวของป่าได้เร็วขึ้น เพราะจะสามารถเพาะและขยายพันธุ์ได้ง่าย เติบโตได้ดีและ เร็ว จากวันที่เริ่มปลูกจนถึงปัจจุบัน แปลงพื้นฟูป่าดังกล่าวมี พรรณไม้ขยายขึ้นมากกว่า 90 ชนิด พร้อมๆ กับการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ เช่น นก ที่พบในพื้นที่มีมากถึง 87 ชนิด และมีสัตว์ป่าจำพวกอีเห็น หมูป่า ชะมดเข้ามาในพื้นที่อีกด้วย การอนุรักษ์ทรัพยากรพืชถิ่นเดียวและพืชหายาก ของแต่ละท้องถิ่นอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของป่าใน พื้นที่นั้นๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเก็บรักษาพรรณไม้ และพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ แต่อาจมีศักยภาพใน เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และเก็บรักษาประชากรพืชที่มี คุณลักษณะพิเศษสำหรับการปรับปรุงพัฒนาต่อไปใน อนาคต แต่ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลใดก็ตาม คุณอนันต์ของผืนป่า ย่อมไม่เคยเสื่อมสลาย มีแต่จะทวีประโยชน์และการปกป้อง ผู้คนให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตามวันและเวลาที่เพิ่มขึ้น ดุจเดียวกับน้ำพระทัยแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้เรียนรู้ให้ความผาสุกแก่ทั้งผืนป่าและราษฎรของ พระองค์มาอย่างยาวนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ คนไทยผู้รับสนองพระราชดำริในการผคุงรักษาป่าไม้ทุกคน ต้องจดจำและดำเนินรอยตามพระปณิธานอันดีงามนี้สืบต่อไป ชั่วกาลนาน